วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมืองโนอาร์ เมืองลอยน้ำแห่งอนาคต ป้องกันภัยพิบัติ


เจ๋ง! สถาปนิกสร้าง เมืองโนอาร์ เมืองลอยน้ำแห่งอนาคต ป้องกันภัยพิบัติ วันสิ้นโลก
ภาพ สิ่งก่อสร้างดังต่อไปนี้ แลดูเหมือนฉากหนึ่งในภาพยนตร์ไซ ไฟ ที่ผ่านๆมา แต่ภาพของเมืองลอยน้ำนี้ กำลังจะกลายเป็นแม่แบบในการสร้างเมือง ของสถาปนิกชาวอเมริกัน  เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ หากเกิดมหาภัยพิบัติขึ้นมา
ทั้งนี้ โครงสร้างของเมืองออกแบบมาเป็นรูปแบบพีรามิดสามเหลี่ยม ให้ผู้พักอาศัยได้มากที่สุดถึง 4 หมื่นคน โดยมีเครื่องอุปโภค บริโภค โรงแรม ร้านค้า โรงเรียน สำนักงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกเหมือนกับเมืองทั่วไป และใช้วัสดุรีไซเคิลและแผงโซล่าเซลล์ในการผลิตพลังงานด้วยตัวเอง
นอก จากนี้ สภาพแวดล้อม และบรรยากาศภายนอก จะล้อมรอบไปด้วยสวน ต้นไม้ที่ประดับประดาอย่างสวยงาม ส่วนการเดินทางนั้น จะใช้ลิฟต์ในการเดินทางขึ้น ลง
การ สร้างเมืองดังกล่าวของสถาปนิก ได้แรงบรรดาลใจมากจาก บทเรียนที่กรุงนิวออร์ลีนส์ สหรัฐ ถูกพายุเฮอริเคนแคทารีนา พัดถล่มเมื่อปี 2005 ส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง

กลุ่มผู้ออกแบบ ต้องการสร้างเมืองนี้ให้อยู่ในอยู่ริมปากแม่น้ำมิซซิสซิปปี ที่สามารถป้องกันภัยพิบัติต่างๆได้ โดยเมืองโนอาร์ ย่อมาจาก “New Orleans Arcology Habitat”
นายเควิน สคอปเฟอร์ หนึ่งในทีมผู้ออกแบบ กล่าวว่า มีสามประการที่ทีมออกแบบคำนึงถึง คือ หนึ่ง
ความท้าทายในโครงสร้างที่จะรองรับและต้านทานหากเกิดภัยพิบัติ สองความปลอดภัยของผู้พักอาศัย และสาม แลความั่นคงของโครงสร้างที่มีพื้นดินรองรับอยู่ด้านล่าง
“มันเป็นโครงการที่ท้าทายมากในการสร้างเมืองนิวออร์ลีนส์ ให้กลายเป็นเมืองแห่งอนาคต”
เขากล่าว

เมืองลอยน้ำสู้ภัยโลกร้อน สำหรับชาวเมืองบอสตัน

แนวคิดเมืองลอยน้ำสู้ภัยโลกร้อน สำหรับชาวเมืองบอสตัน

นาย อี. เควิน สกอปเฟอร์ ดีไซเนอร์และสถาปนิกมือทอง เจ้าของผลงานการออกแบบ/ตกแต่งอาคารหลายแห่งทั่วโลก และกวาดรางวัลออกแบบยอดเยี่ยมมานับไม่ถ้วน เตรียมแผนรองรับภาวะโลกร้อนและน้ำท่วมโลกสำหรับชาวเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ด้วยการออกแบบแนวคิด “เมืองลอยน้ำ” ภายใต้ชื่อ “บีโอเอ” (Boston Arcology) ที่สามารถรองรับชาวเมืองได้มากกว่า 15,000 คน
“บีโอเอ” หรือ “Boston Arcology” (Arcology  = architecture + ecology) ได้รับการออก แบบภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้เป็นที่พักอาศัยที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนชาว บอสตันมากกว่า 15,000 คน ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมทะลักเข้ามาในเมืองอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน
ถึงจะยังเป็นแค่แนวคิด แต่โครงการดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย เพ้อฝัน หรือเป็นแค่จินตนาการแต่อย่างใด เพราะออกแบบภายใต้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ทั้งยังผ่านการศึกษาวิจัยแล้วว่าทั้งโครงการดังกล่าวมีความเป็นไปได้จริง
“เมืองลอยน้ำ” หรือชุมชนแนวตั้งแห่งนี้ประกอบด้วย โรงแรม สำนักงาน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ คอนโดมิเนียม ศาลากลาง ฯลฯ รวมทั้งพื้นที่สีเขียวรายล้อมโครงการ (รวมทั้งบนดาดฟ้า) นอกจากนี้ ภายในอาคารหลัก (3 อาคาร) ยังมีสวนลอยฟ้าภายในเรือนกระจกแทรกอยู่ทุกๆ 30 ชั้นอีกด้วย
ที่สำคัญ ภายในพื้นที่โครงการจะไม่มีการใช้รถยนต์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษทาง อากาศ ส่วนระบบพลังงานที่จะนำมาใช้ได้มาจาก กังหันลม กังหันน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานหมุนเวียนทั้งสิ้น (ใช้แล้วไม่หมดไป มีให้ใช้อย่างต่อเนื่อง) นอกจากนี้ ตัวอาคารยังเน้นออกแบบให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมติดตั้งระบบผลิตน้ำจืดที่ใสสะอาด ระบบบำบัดน้ำเสีย  และอื่นๆ อีกมากมาย
สำหรับวัสดุที่นำมาใช้เป็นฐานหรือแพ ลตฟอร์มรองรับโครงสร้างเหล็กของเมืองลอยน้ำแห่งนี้ก็คือ “คอนกรีต”  ซึ่งทางผู้ออกแบบได้อธิบายเพิ่มเติมว่า แท่นขุดเจาะน้ำมัน เรือท้องแบนบรรทุกสินค้า หรือแม้แต่เรือสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่างก็ใช้คอนกรีตเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้าง (ส่วนที่ต้องลอยน้ำ) เช่นกัน
แล้วยิ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยีต่างๆ ทั้งในด้านเทคนิคการก่อสร้างและระบบความปลอดภัยได้ล้ำหน้าไปมาก สามารถตรวจสอบความแข็งแกร่งของโครงสร้างได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ประกอบกับมีนวัตกรรมคอนกรีตแบบ self sealing  จึงไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัย

เมืองลอยน้ำ ลิลลี่แพคซิตี้

ลิลลี่แพดซิตี้”
เมืองลอยน้ำแห่งโลกอนาคต

         เมื่อถึงวันที่ธรรมชาติเอาคืน มนุษย์ก็พร้อมตื่นตัวรับมือกับชะตากรรมที่อาจต้องเจอ หุหุ จะรับทันมั้ย นับวันภัยพิบัติยิ่งถาโถม เรารู้ทันบ้าง คาดเดาไม่ได้บ้าง ด้วยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การสร้างเขื่อนกั้นนั้นก็ต้องทำให้แข็งแรงแน่นหนาขึ้น แต่ “วินเซนต์ คัลลีบัต”สถาปนิกสมองใสชาวเบลเยียมกล่าวว่า เราจำเป็นต้องสร้างโครงการที่แก้ปัญหาได้ระยะยาวมากกว่านั้น

         “เมืองลอยน้ำ”หรือ“ลิลลี่แพดซิตี้” โครงการแห่งโลกอนาคตจึงผุดขึ้น แนวคิดของรูปทรงมาจาก “บัววิกตอเรีย” อืมมม มองภาพแล้วก็เหมือนบัวลอยน้ำจริงๆ วัตถุประสงค์หลักก็แน่นอน “หนีน้ำท่วม” โดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ ของโลกที่อยู่ในพื้นที่เสียงต่อระดับน้ำทะเลมากที่สุดคือ นิวยอร์ก โตเกียว และลอนดอน โอ้ว ประเทศสุดฮอตยอดนิยมแห่งการไปเยือนทั้งนั้น

เมืองลอยน้ำ

          ความพิเศษของเจ้า “บัวยักษ์” อยู่ที่การจุประชากรได้ถึง 50,000 คน ผลิตพลังงานใช้ได้เอง มีทะเลสาบอยู่ตรงกลางเพื่อเก็บน้ำฝนสะอาด มีภาพเทือกเขาปลอมๆ ไว้ให้ประชาชนดูแก้เบื่อตาจากวิวทะเล ไทเท เนียมไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในการสร้างเมืองยังดูดคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศด้วย สำหรับพลังงานที่แต่ละเมืองนำมาใช้นั้น เป็นพลังงานสีเขียวที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ เช่น พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานจากคลื่น พลังงานลม พลังงานเธอร์มัล พลังงานไฮดรอลิก การสร้างพลังงานนั้นมีจำนวนมากกว่าพลังงานที่แต่ละเมืองใช้ พลังงานจึงเหลือเฟือ และยังเป็นเมืองที่ไม่แพร่ก๊าซเรือนกระจก ส่วนขยะจะถูกนำมารีไซเคิล และที่สำคัญ “ไม่มีถนน ไม่มีรถยนต์” ประมาณว่าติดป้าย “มลพิษห้ามเข้า”กันเลยทีเดียว


เมืองลอยน้ำ

เมืองลอยน้ำ

ตัวอย่างบ้านลอยน้าแบบ โมเดิร์น

บ้านลอยน้ำ – เรือนแพแบบโมเดิร์น

บ้านลอยน้ำ – เรือนแพแบบโมเดิร์น

เรือน แพของไทยในอดีต เป็นที่พักอาศัยของคนต่างถิ่น หรือคนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ก็ยังสามารถอาศัยผืนน้ำ เป็นที่อาศัยแทนผืนดินได้ เมื่อมีฐานะ ความเป็นอยู่ดีขึ้น มีความมั่นคงขึ้น ก็สามารถหาที่ดินลงหลักปักฐาน ย้ายบ้านจากน้ำ ขึ้นบนบกได้ แม้ในปัจจุบันยังมีเรือนแพพักอาศัยอยู่บ้าง ในต่างจังหวัด แต่ก็เหลือน้อย และไม่ได้เป็นเรือนไทยสวยงาม เหมือนดังในอดีต








เรือน แพ หรือบ้านลอยน้ำของฝรั่ง ต่างจากของไทย เพราะในปัจจุบันจะเป็นลักษณะของบ้านแบบท่องเที่ยว เป็นงานอดิเรก หรือเรื่องของไลฟ์สไตล์ที่หรูหราสักหน่อย แต่ในอนาคต อาจจะเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเป็นที่พักอาศัยถาวรอย่างของไทยก็ได้ เพราะที่ดินกว่า 20 % ใน ฮอลแลนด์ เป็นพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และที่ดินก็หายากมากขึ้นเรื่อยๆ







บริษัท ที่คิดบ้านลอยน้ำขึ้นมานี้ เป็นของเยอรมัน (Floating Homes GMBH) ได้ออกแบบบ้านลอยน้ำขึ้นมา มีรูปแบบทันสมัย หลายรูปแบบ ซึ่งก็ดูเหมือนบ้านทั่วไปนั่นเอง ไม่ได้เหมือนแพ หรือเรือ เพียงแต่มันลอยน้ำได้ หรือสามารถลากจูง ต่อกันเป็นขบวน แบบเรือเอี้ยมจุ้นได้ ในราคาประหยัด จัดเป็นประเภทของ mobile home ชนิดหนึ่ง ซึ่งวิ่งในน้ำ และทำขนาดได้ใหญ่กว่า รถ mobile home ที่จำกัดขนาดโดยเลนของถนน







บ้านแบบนี้ ถ้าจะทำมาลอยในแม่น้ำคงไม่ค่อยเวิร์ค เพราะจะต้องเจอคลื่นเรือหางยาว

แต่ถ้าไปลอยตามเขื่อนต่างๆ คงได้บรรยากาศโรแมนติคน่าดู ...

“กรุงเทพลอยน้ำในอนาคต“ไอเดียคนไทย

เหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ทำให้หลายๆคนอดคิดไม่ได้ว่า จะย้ายเมืองหลวงดีไหม ในขณะที่บางคนกลับคิดว่า ก็ทำกรุงเทพฯให้เป็นเมืองลอยน้ำไปเลยสิ!!!!
ปัจจัยที่สนับสนุนให้กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยนั้นมีมากมาย แต่เมื่อเร็วๆนี้เอง UN ได้มีข้อมูลออกมาเตือนว่า "ปี 2050 กรุงเทพจะต้องกลายเป็นทะเล" เนื่องจากกรุงเทพมีพื้นที่ลดลงจากการถูกกัดเซาะในทุกๆปี ทั้งที่มาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เป็นดินอ่อนนุ่ม อีกทั้งการปลูกสิ่งก่อสร้างต่างๆเช่นอาคารสูงทำให้ดินยิ่งถูกกดตัวเข้าไปอีก และเมื่อเจอน้ำหลากน้ำท่วมซัดกระหน่ำในช่วงนี้ หลายคนที่มีข้อกังขาก็ตาสว่างกันขึ้นมาเลยทีเดียวว่า "กรุงเทพ(เป็นพื้นที่)ต่ำ" จริงๆ

ในเมื่อพอรู้ชะตากรรมเบื้องต้นแบบ นี้แล้ว ทำให้หลายฝ่ายผุดไอเดียขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะให้ย้ายเมืองหลวง ให้ถมทะเล หรือแม้กระทั่งการสร้างเขื่อนกันน้ำเพิ่ม แต่ไอเดียคิดต่างสุดล้ำอย่าง "เมืองลอยน้ำ" โดยบริษัทสถาปนิกคนไทย "S Plus PBA" ก็น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว ว่าแล้ว ARiP ขอนำภาพกรุงเทพลอยน้ำในอนาคตจากเวบไซท์ http://spluspba.weebly.com/index.html มาให้ชมกันเลยดีกว่า เห็นแบบนี้แล้วก็อดคิดไม่ได้ว่า "(จมแล้วได้เมืองแบบนี้ก็น่าลองเหมือนกันแฮะ)"
นอกจากนี้ที่เวบไซท์ Virtuallifestyle.net ยังได้เสนอรูปแบบบ้านลอยน้ำดีไซน์เก๋ๆไว้น่าสนใจเลยทีเดียว เผื่อตอนนี้ใครบ้านน้ำท่วม แล้วคิดจะสร้างบ้านใหม่ลองปริ๊นท์ไปให้ผู้รับเหมาสร้างเผื่อไว้ว่ามันจะลอย น้ำได้ด้วยก็ได้ (ล้อเล่นนะครับ)
ส่วนเวบไซท์ Thevenusproject.com ได้นำเสนอโครงการ "City in sea" หรือเมืองทะเลในฝันให้ออกมาเป็นภาพ และคลิปตัวอย่างสั้นๆ

สำหรับ ใครอยากได้แบบธรรมดาๆสไตล์ไทยๆพื้นบ้าน สร้างได้ทันทีหลังน้ำลด สมเด็จพระเทพฯทรงออกไอเดีย โดยร่วมมือกับทางราชการให้ประชาชนทั่วไปสามารถโหลดแปลน และโครงสร้างต่างๆได้ฟรี ใครสนใจลองเข้าไปได้ที่ "แบบบ้านลอยน้ำ http://www.dpt.go.th/download/PW/floating_house/floatingH.html"
เมื่อเกิดภาวะวิกฤตกับประเทศเช่นนี้ คนไทยคงได้บทเรียนไม่มากไม่น้อยจากธรรมชาติในครั้งนี้ ARiP เชื่อว่าคนไทยทุกคนถ้าใช้สติและความสามัคคีในการแก้ปัญหา ทุกอย่างจะสามารถก้าวข้ามผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ดังเช่นนวตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ต่างๆที่ถูกค้นคิดผลิตขึ้นมาในช่วงนี้ มากมาย จะถูกผิดใช้ได้จริงหรือไม่ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนช่วยกันปรับปรุง พัฒนากันไป ขอให้ทุกคนโชคดีครับ

วัตถุประสงค์ในการสร้างบ้านลอยน้ำ




- เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมที่อยู่อาศัย บ้านเรือนของคนไทยที่อยู่ในที่ลุ่ม หรือเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก
- ไม่ต้องย้าย หรืออพยพไปจากบ้านเรือน
- เมื่อเกิดเหตการณ์น้ำท่วม ก็อยู่อาศัยได้ตามปกติ
- การช่วยเหลือของทางราชการก็สะดวกในการเข้าถึง
- แก้ปัญหาด้านการขับถ่าย เพราะในบ้านมีสุขาลอยน้ำในตัว
- ดูแลป้องกันทรัพย์สิน ป้องกันการโจรกรรมบ้านได้
- สร้างบ้านลอยน้ำที่มีราคาถูก คุณภาพดี คงทน และรูปทรงสวยงาม
- บ้านลอยน้ำอยู่บนพื้นดินได้ตามปกติหลังน้ำลด
- ก่อสร้างในพื้นที่ใกล้บ้านหลังแรกได้

ผลกระทบจากอุทกภัย จึงทำให้คนหันมานิยมบ้านลอยน้ำ



จากผลกระทบที่มาจากอุทกภัยครั้งใหญ่นั้น จึงทำให้คนจำนวนมากหันมาหา วิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ยังยืน พร้อมรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่สบายๆ ฉิวๆ...  ดั้งนั้นสถาปนิก จึงได้หาวิธีการแก้ไขปัญหานั้นคือการสร้างบ้านลอยน้ำขึ้นโดยมีจุดประสงค์ เพื่อสามารถอยู่กับธรรมชาติได้อย่างยังยืนมากที่สุด

ปัญหาและสาเหตุทั่วไปของการเกิดน้ำท่วม




                การพิจารณาในเรื่องการเกิดน้ำท่วมนั้นอาจพิจารณาปัจจัย 2 ประเด็น คือ พิจารณาปัญหาหรือสิ่งที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดน้ำท่วม และพิจารณาถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม

2.1. พิจารณาปัญหาหรือสิ่งที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดน้ำท่วม แบ่งได้ 3 กรณี คือ จากน้ำฟ้า น้ำจากแหล่งเก็บกักน้ำ และน้ำทะเลหนุน

2.1.1 น้ำท่วมจากน้ำฟ้า (Precipitation) ซึ่งน้ำฟ้าหมายถึงสภาวะของน้ำที่ตกลงมาจากท้องฟ้า อาจจะเป็นลักษณะ ฝน หิมะ ละอองหรือลูกเห็บ โดยทั่วไปแล้วถือว่าฝนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุทกภัย และฝนที่มีปริมาณมากจนทำให้เกิดอุทกภัยได้นั้นมาจากพายุฝน ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ


1). พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
2). พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ  
2.1) พายุเฮอร์ริเคน (Hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
2.2) พายุไต้ฝุ่น (Typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
2.3) พายุไซโคลน (Cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
2.4) พายุโซนร้อน (Tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
2.5) พายุดีเปรสชัน (Depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก
3). พายุทอร์นาโด (Tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง
2.1.2 น้ำจากแหล่งเก็บกักน้ำ หรือระบบควบคุม (Control System) เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ประตูระบายน้ำ ฝายทดน้ำ ฯลฯ โดยสาเหตุใหญ่ ๆ ที่ทำให้น้ำท่วมคือ (1) การระบายน้ำส่วนเกินในปริมาณมาก ทิ้งออกไปเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยต่อแหล่งเก็บกักน้ำดังกล่าว กรณีนี้จะทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มสองฝั่งลำน้ำด้านท้ายน้ำในลักษณะค่อย ๆ ท่วม และ (2) น้ำท่วมอันเกิดจากการวิบัติของระบบควบคุมดังกล่าว เช่น เขื่อนพัง อ่างเก็บน้ำแตก ประตูระบายน้ำไม่อาจทำหน้าที่ได้ กรณีนี้จะก่อให้เกิดน้ำหลาก มีความรุนแรงมากกว่าน้ำป่า และความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มากกว่าเช่นกัน

2.1.3 น้ำท่วมจากน้ำทะเลหนุน เกิดในพื้นที่อยู่ติดทะเล ลักษณะการท่วมเกิดจากระดับน้ำทะเลยกตัวสูงในช่วงน้ำขึ้นแล้วท่วมพื้นที่โดยตรง กับน้ำทะเลไหลย้อนเข้าสู่ลำน้ำ เพิ่มระดับน้ำในลำน้ำที่ระบายน้ำจากลุ่มน้ำตอนบนขึ้นไป สูงขึ้นจนเอ่อออกท่วมพื้นที่สองฝั่ง และเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนดังกล่าว ซึ่งหากเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้วก็จะยิ่งท่วมนานยิ่งขึ้น


2.2 พิจารณาถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม   การเกิดน้ำท่วมโดยทั่วไปนั้นมักเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

        2.2.1 การเกิดน้ำท่วมขังในที่ราบลุ่ม เนื่องมาจากความไม่สมดุลระหว่าง ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำฝนที่ซึมลงสู่ใต้ดิน และ ปริมาณน้ำผิวดินที่ไหลหรือระบายออกจากพื้นที่นั้น ถ้าปริมาณน้ำฝน มากกว่าปริมาณน้ำฝนที่ซึมลงสู่ใต้ดิน และปริมาณน้ำผิวดินที่ไหลหรือระบายออกจากพื้นที่รวมกัน ก็จะเกิดการท่วมขัง ความรุนแรงของการท่วมขังไม่มากนัก ค่อยเป็นค่อยไป แต่อาจกินเวลานานกว่าจะระบายน้ำออกได้หมด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการระบายน้ำจากพื้นที่เกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
1). การสร้างถนน การวางผังเมืองไม่เหมาะสม สร้างเป็นแหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม ฯลฯ ขวางทางน้ำไหลหรือพื้นที่ระบายน้ำตามธรรมชาติ แล้วไม่สร้างอาคารระบายน้ำ เช่น ท่อระบายน้ำ คูหรือคลองระบายน้ำ ที่เหมาะสมเพียงพอกับการระบายน้ำ
2). แผ่นดินทรุด หรือหน้าดินถูกกัดเซาะชะล้าง ทำให้พื้นที่ยิ่งต่ำลงไปกว่าเดิม ทำให้เกิดน้ำท่วมขังมากและนานขึ้น เพราะการระบายน้ำออกไปจากพื้นที่ไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน
1). ต้องวางผังเมืองให้เหมาะสม รักษาระบบระบายน้ำตามธรรมชาติให้คงไว้เพื่อใช้ระบายน้ำจากพื้นที่ แต่หากมีความจำเป็นต้องพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม ฯลฯ ขวางทางน้ำไหลหรือพื้นที่ระบายน้ำตามธรรมชาติ จะต้องก่อสร้างระบบระบายน้ำทดแทนส่วนที่สูญไป
2). การก่อสร้างถนนจะต้องวางระบบการระบายน้ำ เช่น ท่อลอด สะพาน ที่เหมาะสมทั้งตำแหน่งที่ตั้ง จำนวนและขนาด
3). ในพื้นที่ที่มีการทรุดต้องไม่สูบน้ำใต้ดินมาใช้โดยปราศจากการควบคุม ต้องมีการป้องกันการกัดเซาะชะล้างหน้าดินออกจากพื้นที่ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การใช้หญ้าแฝก การปลูกพืชคลุมดินเป็นต้น

                2.2.2 การเกิดน้ำป่าบริเวณป่าเขาที่มีความลาดชันสูง การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ปราศจากพืช ต้นไม้ปกคลุมดิน ที่จะช่วยดูดซับน้ำฝนเอาไว้และช่วยปกคลุมยึดผิวดิน ถ้าปริมาณฝนในพื้นที่รับน้ำมีมาก จนทำให้ปริมาณน้ำผิวดินที่ระบายออกจากพื้นที่มีมาก ด้วยอัตราที่รุนแรงเรียกว่า น้ำป่า น้ำก็จะพัดเอาเศษต้นไม้ กิ่งไม้ ตะกอน ดิน ทราย และหินลงมาด้วย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่บริเวณท้ายน้ำเป็นอย่างมาก อุทกภัยจากน้ำป่ามีความรุนแรงกว่าประเภทแรก และจำเป็นต้องใช้เวลานานในการแก้ไขจนกว่าพื้นที่นั้นจะกลับฟื้นคืนสภาพดังเดิมได้
แนวทางป้องกันและแก้ไขจากสาเหตุนี้
                1). นอกจากไม่ตัดไม้ทำลายป่าแล้ว ต้องเร่งปลูกต้นไม้ปลูกป่าทดแทนส่วนที่เสียหายถูกทำลายไป
                2). การสร้างระบบป้องกันการกัดเซาะพังทลายของดินลาดเชิงเขา
                3). สร้างแหล่งน้ำขนาดต่างๆ ตั้งแต่ฝายแม้ว แหล่งน้ำขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่เพื่อรองรับน้ำให้เก็บกักเอาไว้ ไม่ปล่อยลงมาอย่างทันทีทันใดจนท่วมพื้นที่ตอนล่าง หรือไหลทิ้งออกจากลุ่มน้ำและออกไปสู่ทะเล นอกจากช่วยป้องกันภัยน้ำท่วมแล้วยังเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ด้วย
               
                2.2.3 น้ำล้นตลิ่งของลำน้ำ เนื่องจาก  (1) ปริมาณและอัตราน้ำหลากที่เกิดขึ้นในบริเวณต้นน้ำ มีมากเกินกว่าความสามารถของแม่น้ำในบริเวณดังกล่าวที่จะรับได้  (2) ลำน้ำมีหน้าตัดเล็ก แคบ ตื้นเขิน (3) มีสิ่งกีดขวางในลำน้ำ เช่น ต้นไม้ วัชพืช การปิดกั้นลำน้ำ (4) การมีระบบควบคุมในลำน้ำ  เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ หรือประตูระบายน้ำฯ โดยปกติแล้วระบบควบคุมดังกล่าวจะเป็นตัวช่วยควบคุม ป้องกันและลดความรุนแรงของอุทกภัย แต่หากมีการออกแบบก่อสร้างไม่เหมาะสม หรือมีการบริหารจัดการน้ำไม่ดี ก็จะเป็นเหตุให้เกิดอุทกภัยได้เช่นกัน  ถ้าเป็นลำน้ำแม่น้ำขนาดเล็กและปริมาณของน้ำหลากไม่มากความรุนแรงและความเสีย หายอันเกิดขึ้นจากอุทกภัยอาจไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ปราศจากระบบควบคุมจะก่อให้เกิดความเสียหายมาก และเป็นวงกว้าง
แนวทางป้องกันและแก้ไขจากสาเหตุนี้
1). การที่มีฝนตกหนักมากจนเกินความสามารถที่ลำน้ำจะรองรับไว้ได้เป็นเหตุที่ป้องกันได้ถ้ามีการศึกษาเกี่ยวกับลุ่มน้ำต่างๆ ดีพอ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการน้ำในลุ่มน้ำ ปรับปรุงขุดลอกลำน้ำ ให้มีความเหมาะสมที่จะรองรับปริมาณฝนสูงสุดที่จะเกิดขึ้นได้
2). การตรวจสอบเพื่อกำจัดสิ่งกีดขวางในลำน้ำทั้งช่วงก่อนฤดูน้ำหลาก และช่วงที่มีน้ำหลากแล้ว
3). การสร้างระบบควบคุมที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างฝายทดน้ำในลำน้ำอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุทกภัยได้ถ้าออกแบบไม่เหมาะสม
4). มีการบริหารจัดการน้ำที่ดี ให้ระบบควบคุมอันได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ หรือประตูระบายน้ำฯ ให้เป็นประโยชน์ในการป้องกันการเกิดอุทกภัย โดยไม่เป็นสาเหตุของการเกิดอุทกภัยเสียเอง

        2.2.4 น้ำท่วมอันเกิดจากการวิบัติของระบบควบคุม เช่น เขื่อนพัง อ่างเก็บน้ำแตก ประตูระบายน้ำไม่อาจทำหน้าที่ได้ จะก่อให้เกิดน้ำหลาก มีความรุนแรงมากกว่าน้ำป่า และความเสียหายที่เกิดขึ้นก็
มากกว่าเช่นกัน
แนวทางป้องกันและแก้ไขจากสาเหตุนี้
        1). ต้องมีการตรวจสอบสภาพอาคารของระบบควบคุมอย่างเป็นระบบ
        2). ต้องมีการดูแลรักษา ซ่อมแซมและปรับปรุงระบบควบคุมให้มีสภาพที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความปลอดภัย
        3). ต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่ดี วางแผนการเก็บกักน้ำ และการพร่องน้ำระบายน้ำสัมพันธ์กับสถานการณ์ที่ควรจะเกิด

        2.2.5 น้ำทะเลหนุน โดยระดับน้ำทะเลยกตัวสูงในช่วงน้ำขึ้นแล้วเข้าท่วมพื้นที่ริมฝั่งหรือปากอ่าวโดยตรง หรือเกิดน้ำทะเลไหลย้อนเข้าสู่ลำน้ำทำให้ระดับน้ำในลำน้ำเพิ่มสูงขึ้นจนเอ่อออกท่วมพื้นที่สองฝั่ง ถ้า น้ำในลำน้ำที่ไหลลงมาปะทะมีปริมาณมากและรุนแรง จะเป็นการเพิ่มระดับน้ำด้านเหนือน้ำอย่างมากและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งถ้าเป็นตรงจุดคอขวดของลำน้ำแล้วน้ำท่วมจากสาเหตุนี้ก็จะมีความรุนแรง และเป็นไปอย่างรวดเร็ว สภาพของความเสียหายจะเป็นไปอย่างกว้างขวาง และมากมาย นอกจากนี้ยังเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนขึ้นไป ซึ่งหากเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้วก็จะยิ่งท่วมนานยิ่งขึ้น
แนวทางป้องกันและแก้ไขจากสาเหตุนี้
                1). ต้องมีระบบควบคุมน้ำทะเลหนุน ได้แก่ ประตูระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพ และมีการบริหารจัดการน้ำที่ดี
                2). การก่อสร้างแหล่งน้ำ เพื่อรองรับน้ำที่ระบายจากลุ่มน้ำตอนบนในช่วงน้ำทะเลหนุนไว้ก่อนที่จะระบายออกสู่ทะเล (แก้มลิง)

ภัยธรรมชาติ


ภัยธรรมชาติ คือผลกระทบที่เกิดจากอันตรายทางธรรมชาติ (เช่น ภูเขาไฟระเบิด, แผ่นดินไหว, หรือแผ่นดินถล่ม) ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างร้ายแรงมากซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น อุทกภัย หรือน้ำท่วม การเกิดพายุ (วาตภัย) การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด

ส่วนที่สำคัญและกระทบต่อประเทศไทยมากที่สุดในตอนนี้คือ อุทกภัย

1. อะไรเป็นสาเหตุของอุทกภัยในประเทศไทย
อุทกภัยคือ ภัยและอันตรายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน มีสาเหตุมาจากการเกิดฝนตกหนักหรือฝนต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องมาจาก 1.1 หย่อมความกดอากาศต่ำ
1.2 พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น, พายุโซนร้อน, พายุใต้ฝุ่น
1.3 ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ำ
1.4 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
1.5 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
1.6 เขื่อนพัง

2. ลักษณะของอุทกภัยเกิดได้อย่างไรบ้าง
ลักษณะของอุทกภัยมีความรุนแรง และรูปแบบต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่โดยมีลักษณะดังนี้
2.1 น้ำป่าไหลหลาก หรือน้ำท่วมฉับพลัน มักจะเกิดขึ้นในที่ราบต่ำหรือที่ราบลุ่มบริเวณใกล้ภูเขาต้นน้ำ เกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนักเหนือภูเขาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้จำนวนน้ำสะสมมีปริมาณมากจนพื้นดิน และต้นไม้ดูดซับไม่ไหวไหลบ่าลงสู่ที่ราบต่ำ เบื้องล่างอย่างรวดเร็ว มีอำนาจทำลายร้างรุนแรงระดับหนึ่ง ที่ทำให้บ้านเรือนพังทลายเสียหาย และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

2.2 น้ำท่วม หรือน้ำท่วมขัง เป็นลักษณะของอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมาก ที่ไหลบ่าในแนวระนาบ จากที่สูงไปยังที่ต่ำเข้าท่วมอาคารบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาได้รับความเสียหาย หรือเป็นสภาพน้ำท่วมขัง ในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝนตกหนัก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำ หรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูงกรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล

2.3 น้ำล้นตลิ่ง เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำจำนวนมากที่เกิดจากฝนหนักต่อเนื่อง ที่ไหลลงสู่ลำน้ำ หรือแม่น้ำมีปริมาณมากจนระบายลงสู่ลุ่มน้ำด้านล่าง หรือออกสู่ปากน้ำไม่ทัน ทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมเรือกสวน ไร่นา และบ้านเรือนตามสองฝั่งน้ำ จนได้รับความเสียหาย ถนน หรือสะพานอาจชำรุด ทางคมนาคมถูกตัดขาดได้

3. เมื่อเกิดอุทกภัยอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง

สามารถแบ่งอันตรายและความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยดังนี้
ความเสียหายโดยตรง
3.1 น้ำท่วมอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างและสาธารณสถาน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก บ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงจะถูกกระแสน้ำที่ไกลเชี่ยวพังทลายได้ คนและสัตว์พาหนะและสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตจากการจมน้ำตาย

3.2 เส้นทางคมนาคมและการขนส่ง อาจจะถูกตัดเป็นช่วง ๆ โดยความแรงของกระแสน้ำ ถนน และสะพานอาจจะถูกกระแสน้ำพัดให้พังทลายได้ สินค้าพัสดุอยู่ระหว่างการขนส่งจะได้รับความเสียหายมาก

3.3 ระบบสาธารณูปโภค จะได้รับความเสียหาย เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ไฟฟ้า และประปา ฯลฯ

3.4 พื้นที่การเกษตรและการปศุสัตว์จะได้รับความเสียหาย เช่น พืชผล ไร่นา ทุกประการที่กำลังผลิดอกออกผล อาจถูกน้ำท่วมตายได้ สัตว์พาหนะ วัว ควาย สัตว์เลี้ยง ตลอดจนผลผลิตที่เก็บกักตุน หรือมีไว้เพื่อทำพันธุ์จะได้รับความเสียหาย ความเสียหายทางอ้อม จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยทั่วไป เกิดโรคระบาด สุขภาพจิตเสื่อม และสูญเสียความปลอดภัยเป็นต้น



รูปที่ 1 อุทกภัยที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2543
4. วิธีปฏิบัติในการป้องกันตนเองและบรรเทาจากอุทกภัย กระทำได้อย่างไรบ้าง 4.1 การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ควรกำหนดผังเมือง เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวเมือง ไม่ให้กีดขวางทางไหลของน้ำ กำหนดการใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่น้ำท่วม ให้เป็นพื้นที่ราบลุ่มรับน้ำ เพื่อเป็นการหน่วงหรือชะลอการเกิดน้ำท่วม

4.2 การออกแบบสิ่งก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ให้มีความสูงเหนือระดับที่น้ำเคยท่วมแล้ว เช่น บ้านเรือนที่ยกพื้นสูงแบบไทย ๆ เป็นต้น

4.3 การเคลื่อนย้ายวัสดุจากที่ที่จะได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากน้ำท่วม ให้ไปอยู่ในที่ปลอดภัยหรือในที่สูง

4.4 การนำถุงทรายมาทำเขื่อน เพื่อป้องกันน้ำท่วม

4.5 การพยากรณ์และการเตรียมภัยน้ำท่วม เพื่อให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียม ป้องกัน

4.6 การสร้างเขื่อน ฝาย ทำนบ และถนน เพื่อเป็นการกักเก็บน้ำหรือเป็นการกั้นทางเดิน ของน้ำ เป็นต้น
5.สถิติอุทกภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีที่ใดและเกิดขึ้นเมื่อไรในอดีตมีอุทกภัยหลายเหตุการณ์

5.1 อุทกภัยจากพายุอีรา เข้าสู่ประเทศไทยที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2533 สรุปความเสียหายได้ดังนี้
ถนนเสียหาย 3,891 สาย

สะพานถูกทำลาย 332 แห่ง
เหมือง ฝาย 242 แห่ง
โรงเรียน 43 แห่ง
วัด 17 แห่ง
พื้นที่เกษตรกรรม 4,133,281 ไร่
มูลค่าความเสียหาย 6,011,353,756 บาท

5.2 อุทกภัยจากพายุดีเปรสชั่น เข้าประเทศไทย ที่ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 สรุปความเสียหายได้ดังนี้

ประชาชนประสบภัย 377,070 คน
ตาย 23 คน
อพยพราษฎร 16,487 คน
บาดเจ็บ 252 คน
บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 2,180 คน
พื้นที่การเกษตรเสียหาย 701,483 ไร่
ปศุสัตว์ 403,090 ตัว
ถนนเสียหาย 4,231 แห่ง
ฝาย-ทำนบเสียหาย 135 แห่ง
สะพานชำรุด 479 แห่ง
สาธารณประโยชน์อื่น ๆ 972 แห่ง
มูลค่าความเสียหายรวม 1,260,940,725 บาท
5.3 อุทกภัยจากพายุซีตา เคลื่อนผ่านประเทศเวียดนามตอนบน และประเทศลาวเข้าสู่ประเทศพม่า ใกล้กับภาคเหนือของประเทศไทย ช่วงวันที่ 23-24 สิงหาคม 2540 สรุปความเสียหายได้
ประชาชนประสบภัย 799,274 คน
ตาย 49 คน
สูญหาย 2 คน
บาดเจ็บ 395 คน
บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 4,627 หลัง
บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 519 หลัง
ถนนเสียหาย 4,218 แห่ง
ฝาย-ทำนบเสียหาย 622 แห่ง
สะพานชำรุด 610 แห่ง
สาธารณประโยชน์ 2,425 แห่ง
มูลค่าความเสียหายรวม 2,944,750,817 บาท
5.4 อุทกภัยและวาตภัย เนื่องจากพายุลินดาเข้าประเทศไทยที่ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 สรุปความเสียหายได้ดังนี้
ประชาชนประสบภัย 461,263 คน
ตาย 9 คน
สูญหาย 2 คน
บาดเจ็บ 20 คน
บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 9,248 หลัง
ถนนเสียหาย 1,223 แห่ง
ฝาย-ทำนบเสียหาย 40 แห่ง
สะพานชำรุด 20 แห่ง
สาธารณประโยชน์ 58 แห่ง
มูลค่าความเสียหายรวม 213,054,675 บาท
5.5 อุทกภัยที่จังหวัดสงขลา เนื่องจากฝนตกหนัก ในช่วง 20-22 พฤศจิกายน 2543 สรุปความเสียหายดังนี้
ประชาชนประสบภัย 552,579 คน
ตาย 26 คน
มูลค่าความเสียหายรวม 1,961,899,075 บาท



รูปที่ 2 ความเสียหายจากพายุลินดาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540

6. เมื่อได้รับคำเตือนเรื่อง อุทกภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยา ควรปฏิบัติตนอย่างไร

ก่อนเกิดอุทกภัยควรปฏิบัติดังนี้
1. เชื่อฟังคำเตือนอย่างเคร่งครัด
2. ติดตามรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่อง
3. เคลื่อนย้ายคน สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย และสิ่งของไปอยู่ในที่สูง ซึ่งเป็นที่พ้นระดับน้ำที่เคยท่วมมาก่อน
4. ทำคันดินหรือกำแพงกั้นน้ำโดยรอบ
5. เคลื่อนย้ายพาหนะ เช่น รถยนต์หรือล้อเลื่อนไปอยู่ที่สูง หรือทำแพสำหรับที่พักรถยนต์ อาจจะใช้ถังน้ำขนาด 200 ลิตร ผูกติดกันแล้วใช้กระดานปูก็ได้
6. เตรียมกระสอบใส่ดินหรือทราย เพื่อเสริมคันดินที่กั้นน้ำให้สูงขึ้น เมื่อระดับน้ำขึ้นสูงท่วมคันดินที่สร้างอยู่
7. ควรเตรียมเรือไม้ เรือยาง หรือแพไม้ไว้ใช้ด้วย เพื่อใช้เป็นพาหนะในขณะน้ำท่วมเป็นเวลานาน เรือเหล่านี้สามารถช่วยชีวิตได้เมื่ออุทกภัยคุกคาม
8. เตรียมเครื่องมือช่างไม้ ไม้กระดาน และเชือกไว้บ้างสำหรับต่อแพ เพื่อช่วยชีวิตในยามคับขัน เมื่อน้ำท่วมมากขึ้น จะได้ใช้เครื่องมือช่างไม้เปิดหลังคารื้อฝาไม้ เพื่อใช้ช่วยพยุงตัวในน้ำได้
9. เตรียมอาหารกระป๋อง หรืออาหารสำรองไว้บ้าง พอที่จะมีอาหารรับประทานเมื่อน้ำท่วมเป็นระยะเวลาหลาย ๆ วัน อาหารย่อมขาดแคลนและไม่มีที่หุงต้ม
10. เตรียมน้ำดื่มเก็บไว้ในขวดและภาชนะที่ปิดแน่น ๆ ไว้บ้าง เพราะน้ำที่สะอาดที่ใช้ตามปกติขาดแคลนลง ระบบการส่งน้ำประปาอาจจะหยุดชะงักเป็นเวลานาน
11. เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์ไว้บ้างพอสมควร เช่น ยาแก้พิษกัดต่อยแมลงป่อง ตะขาบ งู และสัตว์อื่น ๆ เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วมพวกสัตว์มีพิษ เหล่านี้จะหนีน้ำขึ้นมาอยู่บนบ้านและหลังคาเรือน
12. เตรียมเชือกมนิลามีความยาวไม่น้อยกว่า 10 เมตร ใช้ปลายหนึ่งผูกมัดกับต้นไม้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ในกรณีที่กระแสน้ำเชี่ยว และคลื่นลูกใหญ่ซัดมากวาดผู้คนลงทะเล จะช่วยไม่ให้ไหลลอยไปตามกระแสน้ำ
13. เตรียมวิทยุที่ใช้ถ่านไฟฉาย เพื่อไว้ติดตามฟังรายงานข่าวลักษณะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา
14. เตรียมไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และเทียนไข เพื่อไว้ใช้เมื่อไฟฟ้าดับ

ขณะเกิดอุทกภัยควรตั้งสติให้มั่นคง อย่าตื่นกลัวหรือตกใจ ควรเตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ด้วยความสุขุม รอบคอบ และควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ตัดสะพานไฟ และปิดแก๊สหุงต้มให้เรียบร้อย
2. จงอยู่ในอาคารที่แข็งแรง และอยู่ในที่สูงพ้นระดับน้ำที่เคยท่วมมาก่อน
3. จงทำให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ
4. ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก
5. ไม่ควรเล่นน้ำหรือว่ายน้ำเล่นในขณะน้ำท่วม
6. ระวังสัตว์มีพิษที่หนีน้ำท่วมขึ้นมาอยู่บนบ้าน และหลังคาเรือนกัดต่อย เช่น งู แมลงป่อง ตะขาบ เป็นต้น
7. ติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น สังเกตลมฟ้าอากาศ และติดตามคำเตือนเกี่ยวกับ ลักษณะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา
8. เตรียมพร้อมที่จะอพยพไปในที่ปลอดภัยเมื่อสถานการณ์จวนตัว หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการ
9. เมื่อจวนตัวให้คำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตมากกว่าห่วงทรัพย์สมบัติ

หลังอุทกภัย เมื่อระดับน้ำลดลงจนเป็นปกติ การบูรณะซ่อมแซมสิ่งต่าง ๆ จะต้องเริ่มต้นทันที่งานบูรณะต่าง ๆ เหล่านี้จะประกอบด้วย
1. การขนส่งคนอพยพกลับยังภูมิลำเนาเดิม
2. การช่วยเหลือในการรื้อสิ่งปรักหักพัง ซ่อมแซมบ้านเรือนที่หักพัง และถ้าบ้านเรือนที่ถูกทำลายสิ้น ก็ให้ได้รับความช่วยเหลือในการจัดหาที่พักอาศัยและการดำรงชีพชั่วระยะหนึ่ง
3. การกวาดเก็บขนสิ่งปรักหักพังทั่วไป การทำความสะอาดบ้านเรือน ถนนหนทางที่เต็มไปด้วยโคลนตม และสิ่งชำรุดเสียหายที่เกลื่อนกลาดอยู่ทั่วไปกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว
4. ซ่อมแซมบ้านเรือนอาคาร โรงเรียนที่พักอาศัย สะพานที่หักพังชำรุดเสียหาย และที่เสียหายมากจนไม่อาจซ่อมแซมได้ ก็ให้รื้อถอนเพราะจะเป็นอันตรายได้
5. จัดซ่อมทำเครื่องสาธารณูปโภค ให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด เช่น การไฟฟ้า ประปา โทรเลข โทรศัพท์
6. ภายหลังน้ำท่วมจะมีซากสัตว์ตาย ปรากฏในที่ต่าง ๆ ซึ่งจะต้องจัดการเก็บฝังโดยเร็ว สัตว์ที่มีชีวิตอยู่ซึ่งอดอาหารเป็นเวลานาน ให้รีบให้อาหารและนำกลับคืนให้เจ้าของ
7. ซ่อมถนน สะพาน และทางรถไฟที่ขาดตอนชำรุดเสียหายให้กลับสู่สภาพเดิม เพื่อใช้ในการคมนาคมได้โดยเร็วที่สุด
8. สร้างอาคารชั่วคราวสำหรับผู้ที่อาศัย เนื่องจากถูกอุทกภัยทำลายให้อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว
9. การสงเคราะห์ผู้ประสบอุทกภัย มีการแจกเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และอาหารแก่ผู้ประสบภัย ความอดอยาก ความขาดแคลนจะมีอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งควรจะได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยบรรเทาทุกข์หรือมูลนิธิ และอีกประการหนึ่ง
10. ภายหลังอุทกภัย เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จะทำให้เกิดเจ็บไข้และโรคระบาดได้