วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมืองโนอาร์ เมืองลอยน้ำแห่งอนาคต ป้องกันภัยพิบัติ


เจ๋ง! สถาปนิกสร้าง เมืองโนอาร์ เมืองลอยน้ำแห่งอนาคต ป้องกันภัยพิบัติ วันสิ้นโลก
ภาพ สิ่งก่อสร้างดังต่อไปนี้ แลดูเหมือนฉากหนึ่งในภาพยนตร์ไซ ไฟ ที่ผ่านๆมา แต่ภาพของเมืองลอยน้ำนี้ กำลังจะกลายเป็นแม่แบบในการสร้างเมือง ของสถาปนิกชาวอเมริกัน  เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ หากเกิดมหาภัยพิบัติขึ้นมา
ทั้งนี้ โครงสร้างของเมืองออกแบบมาเป็นรูปแบบพีรามิดสามเหลี่ยม ให้ผู้พักอาศัยได้มากที่สุดถึง 4 หมื่นคน โดยมีเครื่องอุปโภค บริโภค โรงแรม ร้านค้า โรงเรียน สำนักงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกเหมือนกับเมืองทั่วไป และใช้วัสดุรีไซเคิลและแผงโซล่าเซลล์ในการผลิตพลังงานด้วยตัวเอง
นอก จากนี้ สภาพแวดล้อม และบรรยากาศภายนอก จะล้อมรอบไปด้วยสวน ต้นไม้ที่ประดับประดาอย่างสวยงาม ส่วนการเดินทางนั้น จะใช้ลิฟต์ในการเดินทางขึ้น ลง
การ สร้างเมืองดังกล่าวของสถาปนิก ได้แรงบรรดาลใจมากจาก บทเรียนที่กรุงนิวออร์ลีนส์ สหรัฐ ถูกพายุเฮอริเคนแคทารีนา พัดถล่มเมื่อปี 2005 ส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง

กลุ่มผู้ออกแบบ ต้องการสร้างเมืองนี้ให้อยู่ในอยู่ริมปากแม่น้ำมิซซิสซิปปี ที่สามารถป้องกันภัยพิบัติต่างๆได้ โดยเมืองโนอาร์ ย่อมาจาก “New Orleans Arcology Habitat”
นายเควิน สคอปเฟอร์ หนึ่งในทีมผู้ออกแบบ กล่าวว่า มีสามประการที่ทีมออกแบบคำนึงถึง คือ หนึ่ง
ความท้าทายในโครงสร้างที่จะรองรับและต้านทานหากเกิดภัยพิบัติ สองความปลอดภัยของผู้พักอาศัย และสาม แลความั่นคงของโครงสร้างที่มีพื้นดินรองรับอยู่ด้านล่าง
“มันเป็นโครงการที่ท้าทายมากในการสร้างเมืองนิวออร์ลีนส์ ให้กลายเป็นเมืองแห่งอนาคต”
เขากล่าว

เมืองลอยน้ำสู้ภัยโลกร้อน สำหรับชาวเมืองบอสตัน

แนวคิดเมืองลอยน้ำสู้ภัยโลกร้อน สำหรับชาวเมืองบอสตัน

นาย อี. เควิน สกอปเฟอร์ ดีไซเนอร์และสถาปนิกมือทอง เจ้าของผลงานการออกแบบ/ตกแต่งอาคารหลายแห่งทั่วโลก และกวาดรางวัลออกแบบยอดเยี่ยมมานับไม่ถ้วน เตรียมแผนรองรับภาวะโลกร้อนและน้ำท่วมโลกสำหรับชาวเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ด้วยการออกแบบแนวคิด “เมืองลอยน้ำ” ภายใต้ชื่อ “บีโอเอ” (Boston Arcology) ที่สามารถรองรับชาวเมืองได้มากกว่า 15,000 คน
“บีโอเอ” หรือ “Boston Arcology” (Arcology  = architecture + ecology) ได้รับการออก แบบภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้เป็นที่พักอาศัยที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนชาว บอสตันมากกว่า 15,000 คน ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมทะลักเข้ามาในเมืองอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน
ถึงจะยังเป็นแค่แนวคิด แต่โครงการดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย เพ้อฝัน หรือเป็นแค่จินตนาการแต่อย่างใด เพราะออกแบบภายใต้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ทั้งยังผ่านการศึกษาวิจัยแล้วว่าทั้งโครงการดังกล่าวมีความเป็นไปได้จริง
“เมืองลอยน้ำ” หรือชุมชนแนวตั้งแห่งนี้ประกอบด้วย โรงแรม สำนักงาน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ คอนโดมิเนียม ศาลากลาง ฯลฯ รวมทั้งพื้นที่สีเขียวรายล้อมโครงการ (รวมทั้งบนดาดฟ้า) นอกจากนี้ ภายในอาคารหลัก (3 อาคาร) ยังมีสวนลอยฟ้าภายในเรือนกระจกแทรกอยู่ทุกๆ 30 ชั้นอีกด้วย
ที่สำคัญ ภายในพื้นที่โครงการจะไม่มีการใช้รถยนต์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษทาง อากาศ ส่วนระบบพลังงานที่จะนำมาใช้ได้มาจาก กังหันลม กังหันน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานหมุนเวียนทั้งสิ้น (ใช้แล้วไม่หมดไป มีให้ใช้อย่างต่อเนื่อง) นอกจากนี้ ตัวอาคารยังเน้นออกแบบให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมติดตั้งระบบผลิตน้ำจืดที่ใสสะอาด ระบบบำบัดน้ำเสีย  และอื่นๆ อีกมากมาย
สำหรับวัสดุที่นำมาใช้เป็นฐานหรือแพ ลตฟอร์มรองรับโครงสร้างเหล็กของเมืองลอยน้ำแห่งนี้ก็คือ “คอนกรีต”  ซึ่งทางผู้ออกแบบได้อธิบายเพิ่มเติมว่า แท่นขุดเจาะน้ำมัน เรือท้องแบนบรรทุกสินค้า หรือแม้แต่เรือสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่างก็ใช้คอนกรีตเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้าง (ส่วนที่ต้องลอยน้ำ) เช่นกัน
แล้วยิ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยีต่างๆ ทั้งในด้านเทคนิคการก่อสร้างและระบบความปลอดภัยได้ล้ำหน้าไปมาก สามารถตรวจสอบความแข็งแกร่งของโครงสร้างได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ประกอบกับมีนวัตกรรมคอนกรีตแบบ self sealing  จึงไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัย

เมืองลอยน้ำ ลิลลี่แพคซิตี้

ลิลลี่แพดซิตี้”
เมืองลอยน้ำแห่งโลกอนาคต

         เมื่อถึงวันที่ธรรมชาติเอาคืน มนุษย์ก็พร้อมตื่นตัวรับมือกับชะตากรรมที่อาจต้องเจอ หุหุ จะรับทันมั้ย นับวันภัยพิบัติยิ่งถาโถม เรารู้ทันบ้าง คาดเดาไม่ได้บ้าง ด้วยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การสร้างเขื่อนกั้นนั้นก็ต้องทำให้แข็งแรงแน่นหนาขึ้น แต่ “วินเซนต์ คัลลีบัต”สถาปนิกสมองใสชาวเบลเยียมกล่าวว่า เราจำเป็นต้องสร้างโครงการที่แก้ปัญหาได้ระยะยาวมากกว่านั้น

         “เมืองลอยน้ำ”หรือ“ลิลลี่แพดซิตี้” โครงการแห่งโลกอนาคตจึงผุดขึ้น แนวคิดของรูปทรงมาจาก “บัววิกตอเรีย” อืมมม มองภาพแล้วก็เหมือนบัวลอยน้ำจริงๆ วัตถุประสงค์หลักก็แน่นอน “หนีน้ำท่วม” โดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ ของโลกที่อยู่ในพื้นที่เสียงต่อระดับน้ำทะเลมากที่สุดคือ นิวยอร์ก โตเกียว และลอนดอน โอ้ว ประเทศสุดฮอตยอดนิยมแห่งการไปเยือนทั้งนั้น

เมืองลอยน้ำ

          ความพิเศษของเจ้า “บัวยักษ์” อยู่ที่การจุประชากรได้ถึง 50,000 คน ผลิตพลังงานใช้ได้เอง มีทะเลสาบอยู่ตรงกลางเพื่อเก็บน้ำฝนสะอาด มีภาพเทือกเขาปลอมๆ ไว้ให้ประชาชนดูแก้เบื่อตาจากวิวทะเล ไทเท เนียมไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในการสร้างเมืองยังดูดคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศด้วย สำหรับพลังงานที่แต่ละเมืองนำมาใช้นั้น เป็นพลังงานสีเขียวที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ เช่น พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานจากคลื่น พลังงานลม พลังงานเธอร์มัล พลังงานไฮดรอลิก การสร้างพลังงานนั้นมีจำนวนมากกว่าพลังงานที่แต่ละเมืองใช้ พลังงานจึงเหลือเฟือ และยังเป็นเมืองที่ไม่แพร่ก๊าซเรือนกระจก ส่วนขยะจะถูกนำมารีไซเคิล และที่สำคัญ “ไม่มีถนน ไม่มีรถยนต์” ประมาณว่าติดป้าย “มลพิษห้ามเข้า”กันเลยทีเดียว


เมืองลอยน้ำ

เมืองลอยน้ำ

ตัวอย่างบ้านลอยน้าแบบ โมเดิร์น

บ้านลอยน้ำ – เรือนแพแบบโมเดิร์น

บ้านลอยน้ำ – เรือนแพแบบโมเดิร์น

เรือน แพของไทยในอดีต เป็นที่พักอาศัยของคนต่างถิ่น หรือคนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ก็ยังสามารถอาศัยผืนน้ำ เป็นที่อาศัยแทนผืนดินได้ เมื่อมีฐานะ ความเป็นอยู่ดีขึ้น มีความมั่นคงขึ้น ก็สามารถหาที่ดินลงหลักปักฐาน ย้ายบ้านจากน้ำ ขึ้นบนบกได้ แม้ในปัจจุบันยังมีเรือนแพพักอาศัยอยู่บ้าง ในต่างจังหวัด แต่ก็เหลือน้อย และไม่ได้เป็นเรือนไทยสวยงาม เหมือนดังในอดีต








เรือน แพ หรือบ้านลอยน้ำของฝรั่ง ต่างจากของไทย เพราะในปัจจุบันจะเป็นลักษณะของบ้านแบบท่องเที่ยว เป็นงานอดิเรก หรือเรื่องของไลฟ์สไตล์ที่หรูหราสักหน่อย แต่ในอนาคต อาจจะเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเป็นที่พักอาศัยถาวรอย่างของไทยก็ได้ เพราะที่ดินกว่า 20 % ใน ฮอลแลนด์ เป็นพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และที่ดินก็หายากมากขึ้นเรื่อยๆ







บริษัท ที่คิดบ้านลอยน้ำขึ้นมานี้ เป็นของเยอรมัน (Floating Homes GMBH) ได้ออกแบบบ้านลอยน้ำขึ้นมา มีรูปแบบทันสมัย หลายรูปแบบ ซึ่งก็ดูเหมือนบ้านทั่วไปนั่นเอง ไม่ได้เหมือนแพ หรือเรือ เพียงแต่มันลอยน้ำได้ หรือสามารถลากจูง ต่อกันเป็นขบวน แบบเรือเอี้ยมจุ้นได้ ในราคาประหยัด จัดเป็นประเภทของ mobile home ชนิดหนึ่ง ซึ่งวิ่งในน้ำ และทำขนาดได้ใหญ่กว่า รถ mobile home ที่จำกัดขนาดโดยเลนของถนน







บ้านแบบนี้ ถ้าจะทำมาลอยในแม่น้ำคงไม่ค่อยเวิร์ค เพราะจะต้องเจอคลื่นเรือหางยาว

แต่ถ้าไปลอยตามเขื่อนต่างๆ คงได้บรรยากาศโรแมนติคน่าดู ...

“กรุงเทพลอยน้ำในอนาคต“ไอเดียคนไทย

เหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ทำให้หลายๆคนอดคิดไม่ได้ว่า จะย้ายเมืองหลวงดีไหม ในขณะที่บางคนกลับคิดว่า ก็ทำกรุงเทพฯให้เป็นเมืองลอยน้ำไปเลยสิ!!!!
ปัจจัยที่สนับสนุนให้กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยนั้นมีมากมาย แต่เมื่อเร็วๆนี้เอง UN ได้มีข้อมูลออกมาเตือนว่า "ปี 2050 กรุงเทพจะต้องกลายเป็นทะเล" เนื่องจากกรุงเทพมีพื้นที่ลดลงจากการถูกกัดเซาะในทุกๆปี ทั้งที่มาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เป็นดินอ่อนนุ่ม อีกทั้งการปลูกสิ่งก่อสร้างต่างๆเช่นอาคารสูงทำให้ดินยิ่งถูกกดตัวเข้าไปอีก และเมื่อเจอน้ำหลากน้ำท่วมซัดกระหน่ำในช่วงนี้ หลายคนที่มีข้อกังขาก็ตาสว่างกันขึ้นมาเลยทีเดียวว่า "กรุงเทพ(เป็นพื้นที่)ต่ำ" จริงๆ

ในเมื่อพอรู้ชะตากรรมเบื้องต้นแบบ นี้แล้ว ทำให้หลายฝ่ายผุดไอเดียขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะให้ย้ายเมืองหลวง ให้ถมทะเล หรือแม้กระทั่งการสร้างเขื่อนกันน้ำเพิ่ม แต่ไอเดียคิดต่างสุดล้ำอย่าง "เมืองลอยน้ำ" โดยบริษัทสถาปนิกคนไทย "S Plus PBA" ก็น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว ว่าแล้ว ARiP ขอนำภาพกรุงเทพลอยน้ำในอนาคตจากเวบไซท์ http://spluspba.weebly.com/index.html มาให้ชมกันเลยดีกว่า เห็นแบบนี้แล้วก็อดคิดไม่ได้ว่า "(จมแล้วได้เมืองแบบนี้ก็น่าลองเหมือนกันแฮะ)"
นอกจากนี้ที่เวบไซท์ Virtuallifestyle.net ยังได้เสนอรูปแบบบ้านลอยน้ำดีไซน์เก๋ๆไว้น่าสนใจเลยทีเดียว เผื่อตอนนี้ใครบ้านน้ำท่วม แล้วคิดจะสร้างบ้านใหม่ลองปริ๊นท์ไปให้ผู้รับเหมาสร้างเผื่อไว้ว่ามันจะลอย น้ำได้ด้วยก็ได้ (ล้อเล่นนะครับ)
ส่วนเวบไซท์ Thevenusproject.com ได้นำเสนอโครงการ "City in sea" หรือเมืองทะเลในฝันให้ออกมาเป็นภาพ และคลิปตัวอย่างสั้นๆ

สำหรับ ใครอยากได้แบบธรรมดาๆสไตล์ไทยๆพื้นบ้าน สร้างได้ทันทีหลังน้ำลด สมเด็จพระเทพฯทรงออกไอเดีย โดยร่วมมือกับทางราชการให้ประชาชนทั่วไปสามารถโหลดแปลน และโครงสร้างต่างๆได้ฟรี ใครสนใจลองเข้าไปได้ที่ "แบบบ้านลอยน้ำ http://www.dpt.go.th/download/PW/floating_house/floatingH.html"
เมื่อเกิดภาวะวิกฤตกับประเทศเช่นนี้ คนไทยคงได้บทเรียนไม่มากไม่น้อยจากธรรมชาติในครั้งนี้ ARiP เชื่อว่าคนไทยทุกคนถ้าใช้สติและความสามัคคีในการแก้ปัญหา ทุกอย่างจะสามารถก้าวข้ามผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ดังเช่นนวตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ต่างๆที่ถูกค้นคิดผลิตขึ้นมาในช่วงนี้ มากมาย จะถูกผิดใช้ได้จริงหรือไม่ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนช่วยกันปรับปรุง พัฒนากันไป ขอให้ทุกคนโชคดีครับ

วัตถุประสงค์ในการสร้างบ้านลอยน้ำ




- เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมที่อยู่อาศัย บ้านเรือนของคนไทยที่อยู่ในที่ลุ่ม หรือเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก
- ไม่ต้องย้าย หรืออพยพไปจากบ้านเรือน
- เมื่อเกิดเหตการณ์น้ำท่วม ก็อยู่อาศัยได้ตามปกติ
- การช่วยเหลือของทางราชการก็สะดวกในการเข้าถึง
- แก้ปัญหาด้านการขับถ่าย เพราะในบ้านมีสุขาลอยน้ำในตัว
- ดูแลป้องกันทรัพย์สิน ป้องกันการโจรกรรมบ้านได้
- สร้างบ้านลอยน้ำที่มีราคาถูก คุณภาพดี คงทน และรูปทรงสวยงาม
- บ้านลอยน้ำอยู่บนพื้นดินได้ตามปกติหลังน้ำลด
- ก่อสร้างในพื้นที่ใกล้บ้านหลังแรกได้

ผลกระทบจากอุทกภัย จึงทำให้คนหันมานิยมบ้านลอยน้ำ



จากผลกระทบที่มาจากอุทกภัยครั้งใหญ่นั้น จึงทำให้คนจำนวนมากหันมาหา วิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ยังยืน พร้อมรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่สบายๆ ฉิวๆ...  ดั้งนั้นสถาปนิก จึงได้หาวิธีการแก้ไขปัญหานั้นคือการสร้างบ้านลอยน้ำขึ้นโดยมีจุดประสงค์ เพื่อสามารถอยู่กับธรรมชาติได้อย่างยังยืนมากที่สุด